“มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ มูลนิธิมาดามแป้ง ขึ้นรับโล่ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะที่ “มูลนิธิมาดามแป้ง” เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือภารกิจด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังกรมราชทัณฑ์เป็นอย่างดีโดยตลอด โดยได้รับเกียรติจาก พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้มอบรางวัล ณ ชั้น G ลาน Avenue โซน A ศูนย์การค้า MBK Center เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม “จัดงานมหกรรมรวมพลคนหลังกำแพง 100 คน 100 อาชีพ” พัฒนาศักยภาพผู้ต้องขัง หวังเปลี่ยนอดีตเป็นพลังพัฒนาประเทศ ในงานนี้ มาดามแป้งได้ร่วมเวทีเสวนา ความท้าทายในการสร้างการยอมรับผู้พ้นโทษ ภายใต้แนวคิด “ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส” โดยมาดามแป้งให้ความเห็นว่า กรมราชทัณฑ์ทำหน้าที่เสมือนประตูเชื่อมต่อ ระหว่างผู้ก้าวพลาดและหน่วยงานภายนอก สร้างมิติใหม่ๆ เพิ่มความมั่นใจในการคืนคนดีสู่สังคม “ผู้ก้าวพลาดหลายคนต้องอาศัยกำลังใจอย่างสูงสุดในการก้าวข้ามและสร้างสิ่งดีๆ ให้กับตัวเอง แป้งเชื่อว่าสังคมไทยของเราในวันนี้พร้อมเปิดโอกาสให้กับผู้ก้้าวพลาด มีหลากหลายองค์กรที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ ด้วยแรงบันดาลใจทั้งหมดนี้ ทำให้มูลนิธิของเราเห็นถึงความสำคัญของการเข้าถึงโอกาสในการประกอบอาชีพหลังจากพ้นโทษ โดยก่อนหน้านี้มูลนิธิมาดามแป้ง ได้มอบรถเข็นครัวมาดาม จำนวน 20 คัน ให้แก่กรมราชทัณฑ์ กระจาย 19 จังหวัด เพื่อสนับสนุนรากฐานในการประกอบอาชีพของผู้ก้าวพลาด” มาดามแป้งกล่าว มูลนิธิมาดามแป้ง พร้อมยืนเคียงข้างสังคมไทยในทุกมิติ ตลอดจนสนับสนุนภารกิจของภาครัฐและเอกชน ผลักดันให้สังคมไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้า เพื่อให้โอกาสกับผู้ก้าวพลาด ได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติ พร้อมที่จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและสังคม และประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงดูตนเองได้อย่างยั่งยืน มูลนิธิมาดามแป้ง ยังคงเดินหน้าเพื่อร่วมแบ่งปันทุกการให้ในสังคมไทย โดยท่านสามารถร่วมสมทบทุนสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิมาดามแป้งได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี มูลนิธิมาดามแป้ง เพื่อโครงการสร้างสังคมแห่งการให้ เลขที่บัญชี 092-2-61340-0 #มูลนิธิมาดามแป้ง #ส่งต่อน้ำใจคนไทยไม่ทิ้งกัน
Author: staff
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยผลการพิจารณาของ Carbon Disclosure Project (CDP) องค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์ด้านบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ธนาคารกสิกรไทยคว้า Leadership Level การเปิดเผยข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ CDP A List ติดต่อกัน 2 ปี จากการประเมินผลความยั่งยืน CDP 2023 นับเป็นธนาคารไทยแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของธนาคารในการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) โดยเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามข้อตกลงปารีสและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ทั้งการดำเนินการภายในของธนาคารและการเปลี่ยนผ่านของลูกค้าผ่านสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยให้คำมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานของธนาคาร (ขอบเขตที่ 1 และ 2) ภายในปี 2573 ซึ่งรวมไปถึงความมุ่งมั่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในพอร์ตโฟลิโอของธนาคารให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทย (ขอบเขตที่ 3) อีกทั้งได้กำหนดเป้าหมายการสนับสนุนสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืน 100,000-200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573 ด้วย โดยธนาคารมุ่งหวังที่จะรักษาความเป็นผู้นำในมาตรฐานความยั่งยืนระดับสากล พร้อมสนับสนุนลูกค้าและภาคธุรกิจให้สามารถปรับตัวและเดินหน้าสู่เศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดแผนขับเคลื่อนกลยุทธ์ธุรกิจ ปี 2567 เพื่อเดินหน้า LEAD the CHANGE เร่งทรานส์ฟอร์มองค์กรผ่าน 4 ด้านสำคัญ เพื่อเสริมแกร่ง ทั้งจับมือพันธมิตรชั้นนำสร้าง Ecosystem Play มอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าแบบครบวงจร สานต่อพันธกิจ The Bank of Financial Well-being มุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งในวันนี้ และอนาคต นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาทีทีบีได้ดำเนินธุรกิจ โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centric) เพื่อสานต่อพันธกิจในการมุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้า และในปี 2567 นี้ ธนาคารได้เดินหน้าที่จะ LEAD the CHANGE หรือเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า โดยเร่งทรานส์ฟอร์ม (Transform) องค์กรแบบรอบด้าน นำดิจิทัลมาดูแลลูกค้าทุกกลุ่มในทุกช่วงชีวิต โดยเฉพาะ 4 กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด Ecosystem Play ได้แก่ กลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth โดยมีแอป ttb touch เป็นแพลตฟอร์มหลักในการเชื่อมต่อโซลูชันและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากพันธมิตรชั้นนำของธนาคาร เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินในระดับเฉพาะบุคคล หรือ Segment-of-One เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นแบบรอบด้าน มุ่งทรานส์ฟอร์ม 4 ด้านสำคัญ เพื่อเดินหน้า LEAD the CHANGE 1. Digital Transformation ทีทีบีได้จัดตั้งทีมดิจิทัลขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้าพัฒนาแอป ttb touch และ ttb business one ภายใต้คอนเซ็ปต์ Humanized Digital Banking เพื่อยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าทั้งรายย่อยและธุรกิจ อีกทั้งต่อยอดโซลูชัน Beyond Banking ที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับลูกค้าได้อย่างรอบด้าน ซึ่งถือเป็นการวางกลยุทธ์สร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลขององค์กรเพื่อสร้าง New…
บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR เปิดเผยผลการดำเนินงานประจำปี 2566 โดยบริษัทยังคงมุ่งเน้นการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการด้านการเงิน (Financial Inclusion) ผ่านธุรกิจหลักของบริษัท ได้แก่ ธุรกิจสินเชื่อและนายหน้าประกัน โดยผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการเติบโต ทำนิวไฮ ทั้งด้านรายได้รวม 18,972 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.2% และมีกำไรสุทธิ 3,790 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.1% จากปีก่อน โดยพอร์ตสินเชื่อคงค้างยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ มียอดสินเชื่อรวม 97,456 ล้านบาท ขยายตัว 19.9% (YoY) ซึ่งคุณภาพพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ดี โดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (%NPL) ปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้าและยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1.45% ในส่วนของธุรกิจนายหน้าประกันยังคงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขยายตัวตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยยอดเบี้ยประกันวินาศภัยรวมสำหรับปี 2566 มีมูลค่า 8,743 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.3% (YoY) นอกจากนี้ อัตราส่วน Cost to Income มีการปรับตัวดีขึ้น ลดลงมาอยู่ที่ 54.9% สะท้อนถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจมาจากกลยุทธ์การลงทุนและพัฒนาด้านเทคโนโลยี สะท้อนจากความสำเร็จของ “บัตรติดล้อ” (Tidlor Card) และ “แอปพลิเคชันเงินติดล้อ” ที่ปริมาณการใช้งานยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปี 2566 ได้มีการส่งมอบบัตรติดล้อแล้วกว่า 644,000 ใบ มีจำนวนผู้ใช้บัตรเพิ่มขึ้น 29.6% (YoY) รวมถึงบริการ “โอนเงินสินเชื่อเข้าบัญชี” ผ่านแอปพลิเคชันเงินติดล้อ ที่เพิ่งเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2566 ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการใช้งานของลูกค้า และยังมีช่องทางให้บริการลูกค้าที่หลากหลาย (Omni-Channel) ทั้งช่องทางออฟไลน์ผ่านช่องทางสาขากว่า 1,678 สาขา, ช่องทางออนไลน์ และแพลตฟอร์มดิจิทัล นอกจากนี้ ธุรกิจนายหน้าประกันของบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นเบอร์ 1 ในการให้คำปรึกษาและเสนอขายประกันอย่างมืออาชีพอย่างใกล้ชิด Face to Face และยังเป็นอีกธุรกิจหลักที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตด้านผลการดำเนินงานของบริษัทฯ…
มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) คว้ารางวัล Excellence in Innovation จาก Fund Selector Asia Awards 2024 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกองทุนรวมของไทยที่มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงนวัตกรรมด้านการลงทุนให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ พร้อมนำเสนอรูปแบบการลงทุนเพื่อให้สอดรับและทันกับทุกการเปลี่ยนแปลงตามเมกระเทรนด์โลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ บลจ.กสิกรไทย ที่ต้องการเห็นพอร์ตการลงทุนของผู้ลงทุนมีความมั่นคงและมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน โดยมีนายอดิศร เสริมชัยวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย (ซ้าย) และนายสุรเดช เกียรติธนากร กรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย (ขวา) ร่วมยินดีกับความสำเร็จในครั้งนี้
นายสมประโชค ปิยะตานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับธุรกิจและการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบการลดทุนของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย พ.ศ. 2567 โดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2567 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการลดทุนของบริษัทประกันภัย ซึ่งจะทำให้บริษัทเกิดความคล่องตัวในการลดทุน รวมถึงสามารถดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็วมากขึ้นตามกระบวนการดำเนินงานลดทุนของบริษัทประกันภัย นอกจากจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว ภายใต้พระราชบัญญัติประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ยังกำหนดข้อห้ามมิให้บริษัทกระทำการลดทุนโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) ดังนั้น ที่ผ่านมาเมื่อบริษัทยื่นขอความเห็นชอบลดทุนเข้ามาที่สำนักงาน คปภ. แล้วจะมีการพิจารณาและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ คปภ. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนออกหนังสืออนุญาตให้กับบริษัท และแม้ว่าคณะกรรมการ คปภ. จะมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน แต่ในแง่การทำธุรกิจบางครั้งก็ต้องการความรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่บริษัทต้องการเพิ่มทุน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางฐานะการเงิน แต่บริษัทยังมีหุ้นจดทะเบียนที่จำหน่ายไม่ได้หรือยังไม่ออกจำหน่าย บริษัทก็ไม่สามารถออกหุ้นใหม่เพื่อเสนอขายให้กับนักลงทุนรายใหม่ได้จนกว่าบริษัทจะลดทุนโดยการตัดหุ้นจดทะเบียนที่จำหน่ายไม่ได้หรือที่ยังมิได้นำออกจำหน่ายให้เรียบร้อยเสียก่อน ดังนั้น เพื่อความคล่องตัวและลดขั้นตอน ตลอดจนระยะเวลาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการลดทุนของบริษัทประกันภัย สำนักงาน คปภ. ได้ศึกษาหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของการออกประกาศ คปภ. ฉบับดังกล่าว สำหรับประกาศ คปภ. ข้างต้นครอบคลุมการลดทุนเป็นกรณีทั่วไป 2 กรณี ได้แก่ กรณีแรก ลดทุนโดยวิธีตัดหุ้น จดทะเบียนที่จำหน่ายไม่ได้หรือที่ยังมิได้นำออกจำหน่าย กรณีที่ 2 ลดทุนเพื่อลดผลขาดทุนสะสมโดยการลดมูลค่าหุ้น หรือลดจำนวนหุ้น โดยทั้ง 2 กรณี ต้องไม่ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินเปลี่ยนแปลงไป และไม่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายกฎเกณฑ์และมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะสามารถพิจารณาและออกหนังสือ อนุญาตให้บริษัทได้โดยไม่ต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ คปภ. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เพียงแต่ ต้องรายงานผลการพิจารณาการอนุญาตให้คณะกรรมการ คปภ. ทราบ โดยประกาศฉบับนี้ได้ออกใช้บังคับแล้ว เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ผู้สนใจสามารถอ่านประกาศฉบับเต็มได้ที่ www.oic.or.th
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการของสำนักงานประกันสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานประกันสังคม ภายใต้นโยบาย “ทักษะดี มีงานทำ หลักประกันสังคมเด่น เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการการแพทย์ คณะกรรมการอุทธรณ์ กองทุนประกันสังคม คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คณะกรรมการตรวจสอบกองทุนเงินทดแทน และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้กำหนดทิศทางเป้าหมายให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาล มอบแนวทางแด่สำนักงานประกันสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายที่ต้องเร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ภายใต้นโยบาย “มุ่งเน้นการบริการที่ได้มาตราฐาน วินิจฉัยโรคที่แม่นยำรวดเร็ว สะดวกสบาย และ มีการติดตามผล พร้อมคุ้มครอง ดูแลและสร้างสวัสดิการที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ประกันตน” พร้อมเตรียมเดินสายพบสหภาพแรงงาน หรือ ออกหนังสือหารือ ในการสร้างสวัสดิการที่ดี เป็นประโยชน์กับผู้ประกันตน โดยกำหนดมีรายละเอียดแนวทาง 4 ข้อหลักๆ ดังนี้ 1. นโยบายด้านการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้ประกันตน ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้มีความเหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีมาตรฐานสากล พร้อมพัฒนาและยกระดับสิทธิการรักษา รวมถึง สวัสดิการของงานด้านประกันสังคม ที่มีความทันสมัย และตอบสนองความต้องการของผู้ประกันตน ผ่านโครงการ MICRO FINANCE : ลดหนี้ เติมทุน สร้างสุขแรงงาน 2. นโยบายเชิงรุกเพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ประกันตน โครงการตรวจสุขภาพเชิงรุก ณ สถานประกอบการ ที่มุ่งเน้นการตรวจคัดกรองโรคที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มาใช้เพื่อการคัดกรองโรคอันตราย ณ สถานประกอบการ 3. นโยบายด้านการยกระดับงานด้านการบริการ “รวดเร็ว สะดวกสบาย และ มีการติดตามผล” สู่การพัฒนา BEST E-SERIVCE ประกันสังคมยุคใหม่ สร้างความมั่นคง เพิ่มความมั่นใจ ยกระดับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตนในการรับบริการ มีการพัฒนาระบบ TELE – MEDICINE…
พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี รับมอบปัจจัย จำนวน 1,037,277 บาท พร้อมเครื่องอุปโภค-บริโภค จาก บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยมีนายอมร ทองธิว กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ถวายปัจจัยดังกล่าว เพื่อบริจาคสมทบทุนให้แก่ผู้ป่วย HIV ผู้สูงอายุและเด็กกำพร้า ซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของวัดพระบาทน้ำพุ ทั้งนี้ปัจจัยและสิ่งของต่างๆ มาจากน้ำใจของชาววิริยะจิตอาสา ทั้งผู้บริหาร และพนักงานจากสำนักงานใหญ่ สาขาและศูนย์ฏิบัติการสินไหมทดแทนทุกภาคส่วน ได้ร่วมทำบุญบริจาคเนื่องในโอกาสครบรอบ 77 ปี แห่งการก่อตั้งบริษัทฯ ณ ฝ่ายบุคคล ชั้น 6 อาคาร อาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านบริการเป็นเลิศ จัดงาน “Best Garage & Surveyor Awards 2023” มอบรางวัลอู่ซ่อมรถยนต์และบริษัทสำรวจภัยที่สร้างผลงานคุณภาพในด้านการบริการลูกค้ายอดเยี่ยม โดยยึดหลักการบริการเป็นเลิศ รวดเร็ว มุ่งสะท้อนคุณภาพของการให้บริการภายใต้ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ เชิดชูอู่ซ่อมรถยนต์และบริษัทสำรวจภัย เพื่อพัฒนาการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นไป นายลาร์ส ไฮบุทสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย กล่าวว่า “หัวใจของการดำเนินธุรกิจของเราคือ การให้บริการลูกค้าที่เหนือความคาดหมาย เรามุ่งพัฒนาการทำงานในทุกด้านเพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ง่ายและรวดเร็ว ไม่เพียงเท่านั้น เรายังส่งเสริมและผลักดันพันธมิตรของเราให้ส่งมอบบริการที่เป็นเลิศให้กับลูกค้าบนมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ที่เรามีพันธมิตรหลักในการให้บริการลูกค้าเป็นอู่ซ่อมรถและบริษัทสำรวจภัย จำนวนมากกว่า 800 อู่/บริษัทซึ่งให้บริการลูกค้าทั่วถึงภาคประเทศไทย การจัดงานมอบรางวัล “Best Garage & Surveyor Awards” ถือเป็นการมอบการขอบคุณและเพื่อเป็นกำลังใจให้กับบริษัทและคนทำงานของบริษัทสำรวจภัยและอู่รถยนต์ที่ส่งมอบบริการที่ยอดเยี่ยม แต่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น นำประโยชน์สูงสุดมาสู่ลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ประกันรถยนต์ของเรา” พิธีมอบรางวัล “Best Garage & Surveyor Awards 2023” แบ่งรางวัลออกเป็น 2 ประเภท คือ รางวัลมอบให้กับอู่ซ่อมรถยนต์ ยอดเยี่ยม โดยมีเกณฑ์การตัดสิน ได้แก่ ค่าซ่อมที่เหมาะสม ยุติธรรม มีการจัดซ่อมอย่างรวดเร็ว ภายในกำหนดนัดหมายกับลูกค้า มีการให้บริการพิเศษ บริการเปิดเคลม ขัดสีรอบคัน รับประกันงานซ่อม 1 ปี การซ่อมตามมาตรฐานและมีคุณภาพที่ดีเยี่ยม ไม่มีเรื่องร้องเรียนการบริการ และรางวัลมอบให้กับบริษัท สำรวจภัย ยอดเยี่ยม โดยมีเกณฑ์การตัดสิน ได้แก่ การเดินทางถึงสถานที่เกิดเหตุภายใน 25 นาที (นับจากได้รับแจ้ง) ช่วยรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า และอยู่เคียงข้างลูกค้าเสมอ ปฏิบัติตามข้อกำหนดการทำงานอย่างครบถ้วน แนะนำขั้นตอนและอู่ซ่อม ตรวจสอบเคลมตามเงื่อนไขกรมธรรม์อย่างถูกต้อง ให้บริการที่ดีเยี่ยม ไม่มีเรื่องร้องเรียนการบริการโดยทั้ง 2 รางวัล แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามภูมิภาค พื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก และภาคใต้ รายชื่ออู่ซ่อมรถและบริษัทสำรวจที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ สำหรับอู่ซ่อมรถยนต์ ที่ได้รับรางวัล อู่ซ่อมรถยนต์…
ตอกย้ำศักยภาพการบริหารและความตั้งใจเพื่อนักลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM) ประสบความสำเร็จในระดับสากล เข้ารับ 2 รางวัลจากงาน Fund Selector Asia Awards 2024 จัดโดย Fund Selector Asia ซื่งเป็นสื่อชั้นนำที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาพรวมกองทุน บทวิจัย และบทวิเคราะห์แนวโน้มตลาดการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย โดย 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล Fund Selector Asia, Thailand – Excellence in Service รางวัล Fund Selector Asia, Thailand – Equity House of the Year โดยมีนายวีระ วุฒิคงศิริกูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงานจัดการลงทุน (กลาง) นางแสงจันทร์ ลี (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน งานลงทุนในตราสารทุน และนายชัชพล สีวลีพันธ์ (ที่ 2 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลในงานเมื่อเร็วๆ นี้ สำหรับ 2 รางวัลนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความโดดเด่นในการบริหารจัดการกองทุนตราสารทุน รวมถึงคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการที่โดดเด่นของ KTAM เพื่อให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์และบทวิเคราะห์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ครอบคลุม รวดเร็วตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลายิ่งขึ้น ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน