Author: staff

นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ พร้อมด้วย ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH ร่วมแถลงผลการดำเนินงาน พร้อมตอบข้อซักถามจากผู้ถือหุ้น ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid Meeting ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา และผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 การประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานในอัตราหุ้นละ 2.60 บาท โดยบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท และจะจ่ายส่วนที่เหลืออีกในอัตราหุ้นละ 1.00 บาท ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 11 มีนาคม 2568 นอกจากนี้ คณะผู้บริหารได้เผยถึงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยครอบคลุมทั้งธุรกิจประกันภัยซึ่งเป็นแกนหลัก กลุ่มธุรกิจสนับสนุน และกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและต่อเนื่องให้กับผู้ถือหุ้น พร้อมเดินหน้านำพาองค์กรสู่การเป็น Sustainable Company อย่างแท้จริงในระยะยาว

Read More

บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ THREL จัดงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 โดยมีนายสุจินต์ หวั่งหลี ประธานกรรมการ (ที่ 5 จากซ้าย), นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ รองประธานกรรมการ (ที่ 6 จากซ้าย) และนายวิพล สรเสาหฤท กรรมการผู้จัดการ (ที่ 4 จากซ้าย) พร้อมด้วยคณะกรรมการ และผู้บริหารของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมพร้อมตอบข้อซักถามผู้ถือหุ้น ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ผ่านทุกวาระ โดยแผนการดำเนินธุรกิจปี 2568 บริษัทฯตั้งเป้าก้าวสู่ “Road to Quality” ปั้นพอร์ตคุณภาพ พิจารณาปรับเงื่อนไขการรับประกันภัยต่อ ให้สอดคล้องอัตราสินไหมทดแทนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงพิจารณายกเลิกสัญญาที่ไม่ทำกำไรในระยะยาว ภายใต้การคุมเข้มกระบวนการพิจารณารับประกันภัย และบริหารความเสี่ยง ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ เน้นกระจายความเสี่ยงผ่านการส่งประกันต่อ (Retrocession) เพื่อควบคุมคุณภาพผลการรับประกันภัยให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่รับได้ ผลักดันอัตราค่าใช้จ่ายรวม (Combined ratio) ต่ำกว่าระดับ 100% ขณะเดียวกัน บริษัทฯยังคงมองหาโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมขยายความร่วมมือพันธมิตรงต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง

Read More

พลเอก ณัฐวุฒิ นาคะนคร รองผู้บัญชาการทหารบก รับมอบเงินสนับสนุนโครงการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่กำลังพลกองทัพบกที่ปลดพิการทุพพลภาพและครอบครัว ประจำปี 2568 จากนายเด่นพงษ์ เจษฎาวิริยะ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการให้มีความเท่าเทียมในสังคม ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยในปี 2568 บริษัทฯ ให้การสนับสนุนกำลังพลกองทัพบกและครอบครัวรวม 29 ราย เป็นจำนวนเงิน 3,493,050 บาท โดยบริษัทฯ ร่วมสนับสนุนโครงการฯ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน รวมเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 32,282,060 บาท

Read More

เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ asava แบรนด์แฟชั่นชื่อดังของประเทศไทย ร่วมยกระดับภาพลักษณ์ “แบรนด์แห่งความสุขและรอยยิ้ม” ปรับโฉมชุดพนักงานบริการสาขา (CSC) ทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด Sharp Modern และ Sustainable พร้อมใส่ใจความยั่งยืนด้วยการเลือกใช้ใยผ้ารีไซเคิลจากขวดพลาสติกที่ผ่านกระบวนการ Upcycling และได้เปิดตัว “ชุดสูทเชิดชูเกียรติยศสุดยอดตัวแทนประกันชีวิต” เสริมภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ ความน่าเชื่อถือ พร้อมดูแลและเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมืองไทยประกันชีวิต ตอกย้ำตัวตนในการเป็นแบรนด์แห่งการสร้างความสุขและรอยยิ้มที่ยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์ “Boost Your Happiness by Our People” บูสท์ความสุขของคุณด้วยคนของเมืองไทยประกันชีวิต ด้วยการเดินหน้าพัฒนาองค์กรในทุกภาคส่วน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันคือ “การส่งมอบความสุขให้กับลูกค้าคนสำคัญ” ล่าสุดบริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ asava แบรนด์แฟชั่นดีไซเนอร์ชั้นนำของประเทศไทย โดย คุณหมู พลพัฒน์ อัศวะประภา ปรับโฉมภาพลักษณ์ “พนักงานบริการสาขา (Customer Service Center หรือ CSC)” ของเมืองไทยประกันชีวิตทั่วประเทศ ด้วยยูนิฟอร์มใหม่ที่ออกแบบภายใต้แนวคิด “Sharp Modern และ Sustainable” สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง ร่วมสมัย ใส่ใจต่อการสร้างความยั่งยืน และดูสดใส เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น โดดเด่นด้วยการเลือกวัสดุจากใยผ้ารีไซเคิล ซึ่งนำมาจากขวดพลาสติก PET ที่ผ่านกระบวนการ Upcycling มาเป็นองค์ประกอบสำคัญ เส้นใยผ้ารีไซเคิลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดปริมาณขยะขวดพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ ตอกย้ำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานของบริษัท พร้อมให้ความใส่ใจต่อพนักงาน ด้วยการให้อิสระในการเลือกสวมใส่ชุดยูนิฟอร์มใหม่ โดยสามารถมิกซ์ แอนด์ แมทซ์ ชุดได้ในสไตล์ตัวเอง ให้มีความสุขและพร้อมให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ เมืองไทยประกันชีวิต ยังได้เดินหน้ายกระดับและพัฒนาตัวแทนประกันชีวิตทั่วประเทศสู่การเป็นที่ปรึกษาประกันชีวิตที่ลูกค้าไว้วางใจอย่างต่อเนื่อง โดย asava ได้รังสรรค์ “ชุดสูทเชิดชูเกียรติยศแห่งความสำเร็จ” ภายใต้แนวคิด “Reflection of Success” ซึ่งจะมอบให้กับตัวแทนประกันชีวิตที่สามารถพิชิตเป้าหมายที่กำหนด เพื่อเชิดชูความสำเร็จ และเสริมภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ ความน่าเชื่อถือ…

Read More

Forbes หนึ่งในสื่อธุรกิจชั้นนำระดับโลก ประกาศผลการจัดอันดับ World’s Best Banks 2025 ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้รับการยกย่องให้เป็น “ธนาคารที่ดีที่สุดของประเทศไทย” จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการธนาคาร 50,000 คน จาก 34 ประเทศทั่วโลก เกณฑ์การประเมินของแบบสำรวจนี้ ครอบคลุมการบริการดิจิทัล ความสะดวก ความน่าเชื่อถือ ข้อตกลงและเงื่อนไขการบริการ อาทิ ค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ย การให้บริการลูกค้า ตลอดจนคำแนะนำด้านการเงิน ซึ่งทำการสำรวจช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2567 ทั้งความพึงพอใจโดยรวมและแนวโน้มที่ผู้ใช้บริการจะแนะนำธนาคารแก่ผู้อื่น โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า “ความน่าเชื่อถือ” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกใช้บริการธนาคาร จาก 385 ธนาคารทั่วโลกที่ผ่านการจัดอันดับในปีนี้ ธนาคารกสิกรไทยเป็นหนึ่งในเพียง 18 ธนาคารที่ครองอันดับ 1 ของประเทศ และได้ต่อเนื่องสองปีซ้อน นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เผยว่า นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ธนาคารกสิกรไทยได้รับการยอมรับจากการสำรวจของ Forbes ในครั้งนี้ ธนาคารภูมิใจในความทุ่มเทของพนักงานทุกคนที่มุ่งมั่นให้บริการอย่างดีที่สุดแก่ลูกค้า และขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่ไว้วางใจในธนาคาร อีกทั้งการได้รับการยอมรับในครั้งนี้เป็นแรงใจสำคัญที่จะผลักดันให้ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

Read More

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ต้อนรับเพื่อนตัวน้อยสีฟ้า “สติทช์” (Stitch) ตัวละครที่จะมาโลดแล่นสุดน่ารักบนหน้าบัตรเดบิต ทีทีบี ออลล์ฟรี ดิสนีย์ ซึ่งเป็นลิมิเต็ด อิดิชัน (Limited Edition) ที่มีจำนวนจำกัดเพียง 2,000 ใบ โดยเปิดให้สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ พร้อมรับสิทธิประโยชน์โดน ๆ และความคุ้มค่าที่มากกว่าในทุก ๆ การใช้จ่าย เพราะบัตรเดบิต ทีทีบี ออลล์ฟรี ดิสนีย์ จะมาเปลี่ยนชีวิตให้ทุกวันอัศจรรย์ได้จริง ทีทีบีเปิดตัวหน้าบัตรเดบิต ทีทีบี ออลล์ฟรี ดิสนีย์ ลายใหม่ “ลิมิเต็ด อิดิชัน ลายสติทช์” เป็นดีไซน์ใหม่ล่าสุดที่ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบจาก Acid Pops มีสีสันสดใส กับท่าทางป่วน ๆ สุดน่ารักของ “สติทช์” ให้ความรู้สึกเหมือนทุกวันเป็นวันพักร้อน มาพร้อมกับ e-Slip โอนเงิน ลวดลายน่ารักให้เลือกใช้ถึง 3 ลาย แชร์ให้คนอื่นก็สร้างรอยยิ้มได้เสมอ โดยสาวก “สติทช์” ที่ต้องการสะสมต้องรีบสมัครด่วน เพราะลายหน้าบัตร “สติทช์” น้อยตัวป่วนเป็นลิมิเต็ด อิดิชัน มีจำนวนจำกัดเพียง 2,000 ใบ เท่านั้น บัตรเดบิต ทีทีบี ออลล์ฟรี ดิสนีย์ เป็นบัตรเดบิตที่ให้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าในการใช้จ่ายในทุกวัน ซึ่งให้สิทธิประโยชน์มากกว่า 15,000 บาท กับค่าธรรมเนียมแรกเข้าเพียง 350 บาท เท่านั้น สิทธิประโยชน์ครอบคลุมทุกการใช้จ่าย อาทิ ü รับเงินคืนสูงสุด 2% เมื่อใช้จ่ายออนไลน์ สูงสุด 3,600 บาท ต่อปี ü ใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศไม่ชาร์จ FX Rate 2.5% เรทถูกทุกสกุลเงินทั่วโลก เที่ยวต่างประเทศไม่ต้องแลกเงิน ü รับส่วนลดสูงสุด 200 บาท ที่ Mcdonald’s เมื่อซื้อชุดสุดคุ้ม ปกติราคา…

Read More

อลิอันซ์ อยุธยา จัดงานทำบุญครบรอบ 74 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยมีทีมผู้บริหารระดับสูง นำทีมร่วมทำบุญตักบาตร เสริมสิริมงคล ณ อาคารเพลินจิต ทาวเวอร์ และในปีนี้ บริษัท มีการจัดกิจกรรมครบรอบ 74 ปี ภายใต้แนวคิด “ให้…ไม่รู้จบ” สำหรับ กิจกรรมในปีนี้ จัดขึ้นต่อเนื่อง 3 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงาน ได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ทั้งต่อสิ่งแวดล้อม ต่อชุมชน และต่อตัวเอง อาทิ กิจกรรม แยกอย่างโปร ส่งเสริมการแยกขยะ และการสร้างรายได้จากขยะรีไซเคิล, กิจกรรมเพิ่มทักษะชีวิต (Life Skill) เรียนรู้การเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) รวมทั้ง กิจกรรมบริจาคสิ่งของเพื่อส่งต่อให้ศูนย์แบ่งต่อ มูลนิธิกระจกเงา และการบริจาคอาหารแห้งเข้าธนาคารอาหาร SOS Cloud Food Bank

Read More

บลจ.กสิกรไทย ปักหมุดต้นเดือนพฤษภาคมนี้ เตรียมเปิดเสนอขาย ThaiESGX 2 กองทุน 2 ทางเลือก ทั้งรูปแบบลงทุนในหุ้น 100% และแบบผสม 70/30 ในหุ้นและตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน เน้นหุ้นไทยที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูง สนับสนุนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน พร้อมได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี นายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย)เปิดเผยว่า บลจ.กสิกรไทย เตรียมพร้อมเสนอขาย 2 กองทุนน้องใหม่ Thai ESGX ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2568 โดยมีทั้งรูปแบบที่เน้นลงทุนในหุ้นไทย 100% และแบบผสม 70/30 ในหุ้นไทยและตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนที่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนจากหุ้นไทยที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด โดยพิจารณาคัดเลือกบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ผลการดำเนินงานมั่นคง มีรายได้และกำไรที่ไม่ผันผวนตามสภาวะเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อสนับสนุนการลงทุนอย่างยั่งยืน นายวินกล่าวต่อไปว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาต่อเนื่อง ส่งผลให้หุ้นหลายตัวมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) ที่สูงขึ้น โดยปัจจุบัน Dividend Yield ของ SET อยู่ที่ 4.4% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 15 ปีที่ผ่านมาที่ 3.2% ยิ่งกว่านั้น SET High Dividend ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนหุ้นกลุ่มที่มีอัตราจ่ายปันผลสูงต่อเนื่อง ปัจจุบันมีอัตราจ่ายปันผลเฉลี่ยสูงถึง 5.6% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 15 ปีย้อนหลังที่ 4.2% โดยบทวิจัย KAsset Capital Market Assumptions (KCMA) คาดว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นไทยในอนาคตนั้น จะมาจากอัตราปันผลที่สูงขึ้นเป็นหลัก โดยสนับสนุนจากการที่ 3 อุตสาหกรรมใหญ่สุดของ SET ได้แก่ พลังงาน ธนาคาร และสื่อสาร คิดเป็น 44% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเติบโตเต็มที่ (Mature Stage) ที่ความต้องการใช้เงินลงทุนเพื่อขยายกิจการชะลอลงจากช่วง 15 ปีก่อน…

Read More

สำนักงาน คปภ. ประชุมร่วมภาคธุรกิจประกันภัย เน้นยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกัน สำนักงาน คปภ. ประชุมร่วมภาคธุรกิจประกันภัย หารือเตรียมพร้อม เพื่อยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกัน รองรับการใช้บังคับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลฐานะทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย นายโสรัจจ์ แรกสกุลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. โดยเลขาธิการ คปภ. ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย เพื่อให้สามารถปรับตัวได้เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที จึงมอบหมายให้สายตรวจสอบ ร่วมกับสายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและพัฒนาแนวทางยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกันบริษัทประกันภัยที่มีการดำเนินการที่อาจกระทบต่อฐานะทางการเงิน โดยพบว่า บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาการดำเนินการที่อาจกระทบต่อฐานะการเงินจะแก้ไขปัญหาด้วยการจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็นหลัก อันเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและไม่ได้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางการเงินได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ที่ผ่านมามาตรการแทรกแซงตามกฎหมายสำหรับใช้เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหายังเผชิญกับข้อจำกัด ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยมีฐานะเงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือมีการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ด้วยเหตุดังกล่าว สำนักงาน คปภ. จึงได้พัฒนาจัดทำมาตรการยกระดับการกำกับดูแลฐานะทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย เพื่ออุดช่องว่างในกระบวนการ ให้บริษัทประกันภัยต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลาย จนอาจกระทบต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน โดยเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 สำนักงาน คปภ. ได้มีการประชุมร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย โดยมีผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยเข้าร่วม เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น และเตรียมความพร้อมรองรับสำหรับการบังคับใช้เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติกับบริษัทประกันภัยต่อไป ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย นำมาใช้กับบริษัทประกันภัยที่จัดอยู่ในกลุ่ม 2 กลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 ตามการจัดกลุ่มของระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System : EWS) ซึ่งมีปัจจัยหรือข้อบ่งชี้ในบางประการที่อาจนำไปสู่ผลกระทบต่อฐานะ ทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย และจะนำมาใช้เพื่อป้องกันก่อนที่เงินกองทุนของบริษัทประกันภัยดังกล่าวจะลดต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย/ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งในแต่ละมาตรการแทรกแซงจะมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ (Root Cause) ที่แท้จริง เป็นไปตามสัดส่วนความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละบริษัทประกันภัย รวมถึงมีขั้นตอนการตัดสินใจ (Decision-Making Lines) ที่ชัดเจนและสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยมีข้อบ่งชี้ที่ใช้พิจารณาแบ่งกลุ่มบริษัทที่เข้ามาตรการแทรกแซงที่สามารถสะท้อนฐานะการเงิน ความมั่นคงของบริษัทในปัจจุบัน และความทนทานของเงินกองทุนส่วนเกิน (Surplus) ที่มีต่อผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งแบ่งความทนทานของบริษัทออกเป็น 3 ระดับที่มีความสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ โดยจะเริ่มจากระดับเบาไปหาหนัก และหากบริษัทยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาตามมาตรการแทรกแซงได้ ก็จะถูกยกระดับการบังคับใช้มาตรการแทรกแซงที่สูงขึ้นในลำดับต่อไป…

Read More

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2568 ขยายตัวในกรอบจำกัด แม้การส่งออกสินค้าจะขยายตัวสูงจากผลของการเร่งส่งออกก่อนการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนกลับไม่ได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่ เพราะปัญหาเชิงโครงสร้าง การแข่งขันสูง และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ สำหรับในปี 2568 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่าปีก่อน โดยนอกจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวช่วงปลายเดือนมีนาคมจะมีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างแล้ว การปรับขึ้นภาษีตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐฯ ยังมีผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการ ซึ่งความตึงเครียดของสงครามการค้าจากการปรับขึ้นของภาษีตอบโต้นับเป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มาตรการของภาครัฐอาจช่วยประคองเศรษฐกิจได้เพียงบางส่วน เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศยังถูกกดดันจากฐานะทางการเงินที่เปราะบางและภาระหนี้ของภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบ โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้าผู้ฝากเงิน ผู้ลงทุน การดูแลช่วยเหลือลูกค้าในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ทั้งการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม การให้ความร่วมมือผ่านโครงการภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถดำเนินชีวิต และธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการส่งมอบผลตอบแทนที่มั่นคงให้แก่ผู้ถือหุ้น ผ่านการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 3+1 และการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Productivity) อย่างต่อเนื่องภายใต้บริบทของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งของธนาคารได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวทางสากล โดยมีผลต่อการรับรู้ และการจัดประเภทรายการในงบการเงินเพื่อให้ข้อมูลทางการเงินสะท้อนมูลค่าทางการเงินของกิจการได้ดียิ่งขึ้น งบการเงินรวมปี 2567 ได้มีการปรับปรุงใหม่เสมือนได้นำมาตรฐานฯ ฉบับดังกล่าว มาถือปฏิบัติย้อนหลังเพื่อให้ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกันได้  ทั้งนี้ การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวมาใช้ไม่มีผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญต่องบการเงินรวมของธนาคารและบริษัทย่อย ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2568 เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ปรับปรุงใหม่ ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจำนวน 2,761 ล้านบาท หรือ 7.23% เป็นผลจากการเผชิญแรงกดดันของภาวะอัตราดอกเบี้ย  ประกอบกับการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีประสิทธิผลสูงสุดอย่างระมัดระวัง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.41% แม้ว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโตขึ้นจำนวน 1,826 ล้านบาท หรือ 15.39% จากกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน รายได้จากการลงทุน และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ อย่างไรก็ตาม รายได้จากการดำเนินงานสุทธิลดลงจำนวน 935 ล้านบาท หรือ 1.87% โดยค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ…

Read More